top of page

Enterprise Architecture: EA1



Enterprise Architecture (EA) เป็นแนวทางการวางแผนทางด้านสารสนเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธและเป้าหมายขององค์กร EA มีแนวคิดมาจาก 2 คำ คือ คำว่า “Enterprise” และ คำว่า “Architecture“


- Enterprise หมายถีง องค์กรที่มีทำธุกรรม มีความเข้าใจในเชิงกลยุทธของการทำดำนินการ มีการกำหนดทิศทางและกำหนดเป้าหมาย ว่าจะให้เติบโตอย่างไร ไปในทิศทางไหน ภายในเวลาที่ได้กำหนด

- Architecture คือสถาปัตยกรรมโดยองค์รวมของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมดขององค์กรในทุกมิติ มีการวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธในเชิงธุรกิจขององค์กร


EA เป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันกลยุทธที่องค์กรกำหนด สืบเนื่องจากทุกวันนี้มีการ disrupt ด้าน Digital Technology ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงเข้ามากระทบธุรกิจและการดำเนินชีวิตค่อนข้างมากและรวดเร็ว จะเห็นได้ว่ามี key message เกี่ยวกับ digital transformation เกิดขึ้นมากมาย องค์กรจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้าสู่โลกดิจิตอลอย่างรวดเร็ว โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาประยุถต์ช่วยการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน


ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้มีมากมาย เช่น เทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI), Blockchain, Internet of Things (IOT) เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกองค์กรธุรกิจนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างนวัตรกรรมผลิตภัณฑ์ บริการใหม่ๆ หรือ ขบวนการใหม่ๆที่มีประสิทธิถาพและรวดเร็วให้กับคู่ค้า ผลลัพธ์ของนวัตรกรรมเหล่านี้ได้สร้างความแตกต่างให้องค์กรนั้นให้มีศักยภาพอยู่เหนือคู่แข่ง (competitive advantage)


เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการนำมาผลักดันกลยุทธ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน การเลือกนำเทคโนโลยีหลายอย่างมาใช้และทำให้สอดคล้องกัน (Synergize Technology) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นการออกแบบ EA จึงไม่เพียงแต่ต้องมีองค์ความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีต่างๆเหล่านั้น แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความเข้าใจเป้าหมายและกลยุทธของธุรกิจ เพื่อการออกแบบและเลือกใช้เทคโนโลยีในแผน EA จะได้สนับสนุนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามเวลาที่กำหนด และเป็นการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ให้ผลล้พธ์ชัดเจน การออกแบบสถปัตยกรรมสารสนเทศหลักๆ จึงต้องคำนึงถีง 5 มิติหลักประกอบไปด้วยกันดังนี้


มิติที่ 1 มองกลยุทธเชิงธุรกิจ เป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมในเชิงภาพธุรกิจ ดูว่าธุรกิจต้องการอะไร เมื่อไร สามารถใช้เทคโนโลยีอะไร โซลูชั่นอะไรในการขับเคลื่อน ซึ่ง Business Architecture นี้ต้องมองจากกระบวนการและกลยุทธทุกอย่างประกอบรวมกันสร้างเป็น Business Architecture ขึ้นมา ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกผลักดันโดยมองภาพของธุรกิจเป็นหลัก


มิติที่ 2 Infrastructure ซึ่งมิติส่วนนี้อาจจะแยกย่อยออกมาเป็นหลายส่วน เช่น Security หรือบางที่อาจจะกรุ๊ปรวมกัน มิติ infrastructure นี้เป็นสิ่งแรกที่มองจากโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้อยู่ในองค์กรทั้งหมด


มิติที่ 3 Application คือ มิติที่มองระบบงานที่เรียก Application ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับกลยุทธขององค์กรซึ่งรวมทั้ง Application เฉพาะด้านและ Application ที่เป็นพื้นฐานสนับสนุนงานทั้งองค์กร

มิติที่ 4 ข้อมูล คือ มิติ Data ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องที่สนับสนุนในการทำธุรกิจ


มิติที่ 5 เวลา คือ Roadmap การกำหนดแผนการด้านสารสนเทศให้สอดคล้องกับแผนการด้านธุรกิจ


เหล่านี้คือมุมมองที่การออกแบบ EA จะต้องคำนังถึง เพื่อสร้างความเข้าใจ โดยกระบวนการเริ่มต้นต้องมองสถานะ ปัจจุบันในแต่ละองค์กรว่ามีการลงทุนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปแล้วอย่างไร สถานะที่เป็นอยู่คืออะไร (As-Is), ประสบการณ์การใช้งานเป็นอย่างไร (User usage/adoption/experience) ในแต่ละมิติ, Infrastructure เป็นอย่างไร, ข้อมูล มีเก็บอะไรแล้วบ้าง การบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงการนำข้อมูลมาใช้ต่อ


การมองกลยุทธกลับเข้ามาเชิงธุรกิจ Business Architecture จะทำให้เราเห็นว่าองค์กรจะขับเคลื่อนอย่างไร ส่วนไหนคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ ไม่ควรนำเทคโนโลยีหรือซื้อระบบที่ทางธุรกิจไม่ได้ให้ความสำคัญและไม่ได้นำไปใช้ ดังนั้นควรที่จะต้องมองมิติที่ 1 จากผลลัพธ์ของทางธุรกิจที่อยากได้เป็นสิ่งแรก (Business Driven) โดยดูว่ากลยุทธธุรกิจต้องการอะไร และ IT ในปัจจุบันมีช่องว่างอะไรบ้างที่ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์ในเชิงกลยุทธของธุรกิจในส่วนไหนบ้าง จุดนี้เองที่ทาง EA นำมากำหนดเป็น Roadmap ว่าสารสนเทศจะต้องทำอะไรบ้าง ต้องปรับปรุงอะไรบ้าง เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะนำมาสร้างนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ควรจะเริ่มจากเทคโนโลยีไหนบ้างที่จะนำมาใช้ก่อนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ทางธุรกิจต้องการตามลำดับก่อนหลัง


ถ้าองค์กรไม่ได้มีการทำ EA ก็จะไม่เห็นภาพว่า ขณะนี้สุขภาพ IT ตอนนี้ มีความแข็งแรง มีความพร้อมทั้งด้านข้อมูลด้าน Infrastructure ด้านระบบงานแค่ไหน มีปัญหาอะไรอยู่หรือไม่ ยิ่งในปัจจุบันธุรกิจต้องการความเร็วในการตอบสนอง ระบบงานมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสนับสนุนความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่ารวดเร็วแค่ไหน


เหล่านี้คือสิ่งสำคัญที่สารสนเทศต้องทำให้เป็นเป้าหมายและลงทุนให้สอดคล้องกับทางธุรกิจว่าให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรระยะเวลาเมื่อไร และลำดับความสำคัญก่อนหลัง โดยภาพสุดท้ายที่ได้จากการทำ EA จะเป็นการกำหนดภาพให้ชัดเจนว่ากรอบแผนการลงทุนสารสนเทศในองค์กรเราเป็นอย่างไร


iknowplus จะได้ลงรายละเอียดข้อมูลในแต่ละหัวข้อใน content ถัดไปกดติดตามเพื่อจะได้ไม่พลาดข้อมูลดีดีที่น่าสนใจนี้ได้ที่ www.iknowplus.co.th


บทความนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา ของบริษัท ไอโนว์พลัส จำกัด หากผู้ใด ทำซ้ำ คัดลอก ดัดแปลง ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด จักต้องได้รับโทษอาญา และชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง ให้กับบริษัท ไอโนว์พลัส จำกัด

bottom of page